เมนู

ภิกขุปณามนปัญหา ที่ 3


ราชา อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยญาณปรีชา ภาสิตํ เจตํ คำดังนี้สมเด็จ
พระไตรโลกมุนีมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ตถาคตนี้ อโกธโน ไม่มีโกรธ วิคตขีโล มีโทษคือ
โทโสเป็นดังหลักตอปราศจากพุทธสันดานแล้ว ปุน จ ครั้นแล้วสมเด็จพระบรมโลกนาถ
ศาสดาจารย์ ปณาเมสิ มีพระพุทธฎีกาตรัสขับพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรอัครสาวก
ทั้งคู่ พร้อมด้วยบริษัทบริวารของอาตมา กึ นุ โข ภนฺเต ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จ
พระมหากรุณาธิคุณเจ้ามาตรัสดังนี้ จะว่าดีไม่มีโกรธหรือ โยมนี้เข้าใจแน่ทีเดียวว่า สมเด็จพระ
พุทธองค์เจ้าทรงโกรธเป็นมั่งคง ถ้าแม้ว่าพระองค์ทรงขับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะผู้
อัครสาวกซ้ายขวานั้นเป็นมั่นคงฉะนี้แล้ว คำเดิมนี้ที่พระพุทธฎีกาตรัสว่า อโกธโน ตถาคต
ไม่มีโกรธ วิคตขีโล ตถาคตมีโทษคือโทโสเป็นดังหลักตอปราศจากสันดานแล้ว คำนี้ก็ผิด
ครั้นจะถือคำเดิมนี้ คำตรัสทีหลังก็จะผิด หรือว่าพระองค์เจ้าไม่มีจิตโกรธโปรดขับเสียด้วยจิต
ยินดี ก็ใช่ท่วงใช่ทีใช่เหตุใช่ผล โยมคิดแล้วให้ฉงนครัน อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ
นิมนต์โปรดวิสัชนาให้แจ้งวิมัติกังขาในกาลบัดนี้
เถโร ฝ่ายพระนาคเสนผู้มั่นด้วยศีลาทิคุณอันวิเศษจึงถวายพระพรว่า มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐมหาศาล สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์เจ้า
มีพระพุทธฎีกาโปรดไว้ว่า ตถาคตนี้ อโกธโน หาความโกรธมิได้ วิคตขีโล มีหลักคือโทโส
ในสันดานผลาญเสียแล้ว พระองค์ตรัสฉะนี้แล้ว มีพระพุทธฎีกาตรัสขับพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะ พร้อมด้วยบริษัทนั้น ใช่ว่าพระองค์จะทรงโกรธหามิได้ จะเปรียบฉันใดนะ
บพิตรพระราชสมภาร มีครุวนาปานบุรุษผู้หนึ่งสัญจรบนพื้นพสุธา ปกฺขลิตฺวา บุรุษผู้นั้น
ประมาท พลาดล้มลง ถูกรากไม้ก็ดี ถูกศิลาและหลักตอสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นก็ดี จะว่าพสุธาธรณีนั้น
มีความโกรธหรือว่าหามิได้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า นตฺถิ ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า พสุธานั้นจะได้มีความโกรธนั้นหามิได้ ประการหนึ่ง โกโป วา ความโกรธก็ดี
ปสาโท วา ความเสื่อมใสก็ดี จะได้มีแก่พสุธานั้นก็หามิได้ อยํ มหาปฐวี อันว่าแผ่นดิน
อันใหญ่ อนุนยปฏิฆวิปฺปามุตฺตา จะได้มีจิตรักใคร่และโกรธแค้นหามิได้ สยเมว โส บุรุษผู้
นั้นประมาทพลาดล้มลงเอง น สญฺญาย ด้วยตัวมิได้สำคัญสัญญา จะโทษเอาว่าพสุธาโกรธขึ้ง
จึงเผอิญให้ต้องบาดเสี้ยนหนาม ทั้งนี้หาถูกไม่
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ยถา มีครุวนาฉันใดบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ

พระศาสดาจารย์จะมีโกรธหามิได้ อนุนยปฏิฆวิปฺปมุตฺโต สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถผู้เป็น
อัครนักปราชญ์จะได้มีความยินดีโกรธแค้นชิงชังใครหามิได้ อรหํ ทรงพระนามชื่อว่าพระอรหัง
ควรแก่เครื่องสักการบูชาเป็นอาทิ สมฺมสมฺพุทฺโธ ได้ตรัสรู้พระธรรมทั้งปวงหาผู้ใดจะเป็น
อาจารย์มิได้ พระองค์ตรัสขับพระสารีบุตร พระโมคคัลลานพร้อมด้วยภิกษุบริษัทเสียด้วยโทษ
ของตนกระทำไว้ อุปไมยดุจความที่อุปมานั้น
ประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารเจ้า ถ้ามิฉะนั้น
ดุจมหาสมุทรอันใหญ่ มตกุณเปน สํวสติ จะได้ส้องเสพอยู่ร่วมด้วยอสุภสัตว์ตายนั้นหามิได้ ยํ
กิญฺจิ สงฺขเสวาลปณกกุณปํ
สังข์หรือคือจอกสาหร่ายแหนและซากอสุภสัตว์ตายลอยไปนั้น
มหาสมุทรอันใหญ่ก็ซัดขึ้นไปเสียบนตลิ่งสิ้น มิให้อสุภสัตว์ตายนั้นลอยล่องอยู่ในสมุทรสาคร
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร มหาสมุทรนั้นรำคาญเคืองขึ้งโกรธหรือ จึงซัด
อสุภนั้นขึ้นเสียบนตลิ่งนั้น นพบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์มีพระราชโองการตรัสว่า นตฺถิ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มหา
สมุทรนั้นเล่า โกโป วา จะมีจิตโกรธก็ดี โทโส วา จะมีจิตประทุษร้ายก็ดี หามิได้ อนุนย-
ปฏิฆวิปฺปมุตฺโต มหาสมุทฺโท
สมุทรอันใหญ่จะมีจิตรักใคร่ชิงชังหามิได้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจารว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร มหา
สมุทรนั้นเปรียบปานฉันใดโสด โกโป วา อันว่าความโกรธก็ดี ปสาโท วา อันว่าความ
เลื่อมใสก็ดี จะมีในสันดานสมเด็จพระโลกุตตมาจารย์หามิได้ ตถาคโต อันว่าสมเด็จพระไตร
โลกนาถ อรหํ ตัดขาดจากกำกงสงสาร สมฺมาสมฺพุทโธ ได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิ-
ญาณด้วยพระองค์ อนุนยปฏิฆวิปฺปมุตฺโต ตั้งอยู่ในองค์อุเบกขา จะได้มีพระทัยเสน่หารักใคร่
ชิงชังหามิได้ อุปไมยดุจหนึ่งสมุทรสาครนั้น ขอถวายพระพร บุรุษพลาดแล้วย่อมล้มลงบน
แผ่นพสุธาฉันใด พระมหากรุณาก็ทรงขับไล่ผู้ที่พลาดในพระศาสนาฉันนั้น ประการหนึ่งมหา
สมุทรย่อมซัดซากอสุภขึ้นฉันใด ผู้ที่ประพฤติผิดในพระศาสนาพระองค์ก็ซัดไปฉันนั้น ตถาคโต
ประการหนึ่งเล่า สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้ามีพระพุทธฏีกาให้ขับเสียงนั้น หวังจะให้เข็ดหลาบ
ไม่กระทำต่อไป ตั้งพระทัยจะให้ปฏิบัติเป็นอันดี เพื่อได้พ้นจากชาติชราพยาธิมรณะ พ้นจาก
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรได้ทรงฟังก็สิ้นวิมัติกังขา มีพระราชโองการตรัสว่า สธุสะ
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าไว้ในกาลบัดนี้
ภิกขุปณามนปัญหา คำรบ 3 จบเท่านี้

พุทธสัพพัญญูสยปณามปัญหา ที่ 4


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีสุนทรราชปุจฉาถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้านี้สรรเสริญว่า สมเด็จพระ
พุทธเจ้าเป็นองค์สัพพัญญูแล้ว พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าขับเสียซึ่ง
ภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประธานกาลครั้งนั้น ศากยราชและท้าว
สหัมบดีพรหมปรารถนาจะระงับดับเสียซึ่งอธิกรณ์ จึงเข้าไปสู่สำนักสมเด็จพระมุนีวรเจ้า แล้ว
จึงกล่าวอุปมาสองประการ คือ อุปมาดังพืชอันน้อยประการ 1 อุปมาดังลูกโคอ่อนประการ 1
ยังสมเด็จพระพุทธองค์ผู้เป็นที่พึ่งให้ระงับดับโทษนั้นด้วยอุปมา และเมื่อศากยาราชและท้าว
สหัมบดีพรหมถวายอุปมานี้ จะแก้ว่าพระมหากรุณาไม่รู้ ถ้าฉะนั้นสมเด็จพระมหากรุณาก็เป็น
ิองค์สัพพัญญูหารู้อุปมาไม่ อนึ่งจะแก้ไขว่าพระองค์รู้ ปรารถนาจะดูใจสงฆ์ทั้งปวง จึงขับเสียนี้
ถ้ารับเข้ามาว่าขับเแล้ว ถ้าฉะนั้นพระมหากรุณาก็ได้มีกรุณา ถ้ามีกรุณาแล้วจะขับเสียต้องการ
อะไรนั้น อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ อุภโต โกฏิโก เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์ผู้เป็นเจ้าโปรด
วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ตถา-
คโต
สมเด็จพระตถาคตทศพลญาณเจ้านี้ เป็นองค์สมเด็จพระสัพพัญญู สารพัดจะรู้ในธรรม
เป็นธรรมสามีคือเป็นเจ้าแห่งธรรม ตกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนั้น ก็เอาธรรมของสมเด็จ
พระสัพพัญญูทรงสั่งสอน ย้อนมาอุปมาให้สมเด็จพระบรมโลกนาถประสาทเลื่อมใส ยถาว
มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจสตรีเอาทรัพย์
เป็นของสามีมาตั้งเรียงเคียงไว้ให้สามีของอาตมาเห็นส่วน ครั้นสามีเห็นทรัพย์ของอาตมาก็ชื่น
ชมโสมนัสสาการยินดี ยถา มีครุวนาฉันใดก็ดี ศากยราชและท้าวสหัมบดีพรหมนั้นก็เอา
ธรรมอันเป็นของสมเด็จพระชิเนนทรบพิตรพิชิตมารเจ้าสั่งสอนนั้น มากล่าวให้สมเด็จพระองค์
เจ้าชื่นชมยินดี ส่วนสมเด็จพระพิชิตมารโมลีเจ้าก็อนุโมนาว่า สาธุ สาธุ ท่านว่านี้ควรแล้ว
ความนี้เปรียบเหมือนสตรี เอาทรัพย์เป็นส่วนสามีมาให้สามีชื่นชมนั้น
ประการหนึ่งจะอุปมาใหม่เล่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ผู้ประเสริฐในอิสริศฤงคาร เปรียบปานดุจช่างกัลบกเอาสุวรรณาลังการ เครื่องประดับเหนือ
อุตตมังคสิโรตม์แห่งบรมกษัตริย์ให้ปราโมทย์โสมนัสยินดี อันว่าสุวรรณาลังการนี้เป็นของของ
บรมกษัตริย์ บรมกษัตริย์ก็ทรงโสมนัสยินดีซึ่งเครื่องประดับอันเป็นของของพระองค์ ยถา มี
ครุวนาฉันใด ศากยราชและสหัมบดีพรหม ก็นำเอาธรรมที่พระองค์สอนไว้มาอุปมาอุปไมยให้
สมเด็จพระองค์เจ้าเลื่อมใส ด้วยธรรมของพระองค์เอง มีอุปไมยฉันนั้น เหตุที่จะปลดเปลื้อง